EN TH
11 กุมภาพันธ์ 2553

นำส่งงบการเงินปี 2552 พร้อมคำอธิบายงบการเงินรวม

11 กุมภาพันธ์ 2553 เรื่อง ขอนำส่งงบการเงิน ปี 2552 เรียน กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย สิ่งที่ส่งมาด้วย งบการเงิน ปี 2552 ของบริษัท และงบการเงินรวมของบริษัทและบริษัทย่อย พร้อมคำอธิบายงบการเงินรวม บริษัทบีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน) ขอนำส่งงบการเงินของบริษัท และงบ การเงินรวมของบริษัทและบริษัทย่อยสำหรับ ปี2552 สิ้นสุด ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 ซึ่งผ่านการตรวจสอบจากผู้สอบบัญชี และคณะกรรมการตรวจสอบได้สอบทานแล้ว ดังที่ได้ แนบมาด้วยนี้ กลุ่ม บีอีซี เวิลด์ มีกำไรสุทธิ(ส่วนที่เป็นของผู้ถือหุ้นของบีอีซี เวิลด์)ในปี 2552 เป็นยอดเท่ากับ2,635ล้านบาท ลดลงจากที่เคยทำได้ในปีก่อนร้อยละ8.4 ลดลง241 ล้านบาท แม้ บีอีซี เวิลด์ ยังสามารถเพิ่มรายได้จากการขายเวลาโฆษณาได้สูงขึ้นอีกร้อยละ 2.2 เป็นยอดที่ดีขึ้นสูงกว่าปีก่อน178ล้านบาท กำไรที่ลดลงเกิดขึ้นในครึ่งแรกของปี จากการ ที่กลุ่มมีรายได้โฆษณาลดลงในไตรมาสแรกของปี จากปัญหาภาวะเศรษฐกิจมหภาคโดยรวมและ จากการปรับเพิ่มขึ้นของต้นทุน จากการขยายช่วงเวลาไพร์มและการเปลี่ยนแปลงผังรายการ ที่เพิ่มรายการที่ผลิตในประเทศมากขึ้น และจากการที่ค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นในช่วงครึ่งแรกของปี จากกิจกรรมการตลาดและกิจกรรมพิเศษที่เกี่ยวเนื่องกับ"การฉลองครบรอบ39ปีของการ ดำเนินการสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง3" อีกทั้งรายได้จากการให้ใช้สิทธิและบริการอื่นและ รายได้จากดอกเบี้ยรับลดลง จากปัญหาภาวะเศรษฐกิจ แม้กลุ่มบีอีซี เวิลด์ ได้ปรับฟื้นตัวมี กำไรเพิ่มขึ้นสูงกว่าปีก่อน ต่อเนื่องตลอดครึ่งหลังของปี ตามรายได้ที่เพิ่มขึ้นและค่าใช้จ่าย ได้ปรับลดลง แต่กำไรที่เพิ่มขึ้นในครึ่งหลังนี้ก็ยังไม่สามารถกลบส่วนที่ต่ำกว่าปีก่อนใน ครึ่งแรกของปีได้ทั้งหมด จึงทำให้กลุ่ม บีอีซี เวิลด์ มีอัตรากำไรและ ยอดกำไรสุทธิ ต่ำกว่า ปีก่อนดังที่ได้อธิบายเพิ่มเติม ในคำอธิบายงบการเงินรวม ที่ได้แนบมาด้วยพร้อมนี้ จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบ ขอแสดงความนับถือ (นายฉัตรชัย เทียมทอง) ผู้อำนวยการฝ่าย ฝ่ายการเงิน คำอธิบายงบการเงินรวม ปี 2552 ภาวะอุตสาหกรรม ข่าวร้ายทั้งจากภายนอกและภายในประเทศ เริ่มส่งผลลบต่อเศรษฐกิจมหภาคของไทย มา ตั้งแต่ปลายปี2551 มีผลทำให้อุตสาหกรรมในไตรมาสแรกของปี2552 ได้ยุบตัวลงถึงร้อยละ 8จากยอดที่เคยใช้ในไตรมาสก่อน ตามรายงานของเนลสัน มีเดีย รีเสริทช์(เนลสันฯ) แม้ส่วนหนึ่งจะถือได้ว่าเป็นปกติของการเปรียบเทียบไตรมาสต้นปี(ซึ่งเป็นช่วง"โล-ซีซั่น") กับไตรมาสท้ายปี(ซึ่งเป็นช่วง"ไฮ-ซีซั่น") แต่เนลสันฯก็ได้รายงานว่า เม็ดเงินโษณาผ่านสื่อ โทรทัศน์ได้ปรับฟื้นตัวในเดือนมีนาคม เมื่อเริ่ม"ไฮ-ซีซั่น"รอบแรกของปี แม้เนลสันฯได้ รายงานด้วยว่าการใช้เงินของผู้โฆษณารายใหญ่รายหนึ่งในช่องหลักช่องหนึ่งได้ลดลงมาก ผิดปกติ ฉุดให้อุตสาหกรรมลดต่ำลงจากปีก่อนในอัตราสูงในไตรมาสสอง อันเป็น ผลทำให้ "ช่อง3"กลับมาเป็นช่องที่มีส่วนแบ่งตลาดในเม็ดเงินโฆษณาสูงสุดในอุตสาหกรรม อีกครั้ง หนึ่งตลอดช่วงแรกของปีจนถึงปลายไตรมาสสาม แต่เหตุการณ์ผิดปกตินั้น กลับมีผลช่วยให้ ภาวะการแข่งขัน ในระหว่างเจ้าของสินค้า/ผู้โฆษณาในกลุ่มสินค้าที่เกี่ยวข้องเพิ่มรุนแรง มากขึ้น มีการใช้เงินโฆษณาจากผู้โฆษณากลุ่มนั้นเพิ่มจากฐานของปีก่อนสูงมาก ทำให้ อุตสาหกรรมกลับมามีการเติบโตได้เป็นอย่างดีในครึ่งหลังของปี และเป็นการเติบโตในอัตรา ที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ช่วยให้ยอดรวมทั้งปีมีการเติบโตสูงกว่าปีก่อนได้ โดยที่ทุกช่องมีการ เติบโตจากฐานปีก่อน ยกเว้นช่องหลักที่มีการลดผิดปกติ-แม้ปัญหาความผิดปกตินั้นดูคล้าย จะได้คลี่คลายไปตั้งแต่ปลายไตรมาสสามแล้วก็ตาม ซึ่งมีส่วนทำให้"ช่อง3"กลับมามีส่วน แบ่งตลาดในเม็ดเงินโฆษณาผ่านสื่อโทรทัศน์สูงสุดในปีนี้ และทำให้กลุ่ม"บีอีซี-เวิลด์"มี รายได้โฆษณาสูงเป็นประวัติการณ์ ต่อเนื่องกันตลอดสามไตรมาสหลังของปี2552 เมื่อ พิจารณารายงานของ"เนลสันฯ"ในรายละเอียด ก็เห็นได้ชัดว่าแม้บางราย/บางกลุ่มสินค้า ที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาภาวะเศรษฐกิจมหภาคตรงๆและได้ลดการใช้เงินโฆษณาลง เช่น กลุ่มรถยนต์ วัตถุก่อสร้าง และการใช้เงินโฆษณาภาครัฐ แต่ก็มีผู้โฆษณาหลายกลุ่ม สินค้า/หลายราย ทั้งรายใหญ่ๆและรายกลางๆ ที่ได้เพิ่มการใช้เงินโฆษณาผ่านสื่อโทรทัศน์ สูงขึ้นกว่าที่เคยใช้ในปีก่อน ในอัตราสูง-เพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ20ของปีก่อน อีกทั้งก็ยังมี ผู้โฆษณารายใหม่เพิ่มเข้ามาอีกมากราย เมื่อภาวะเศรษฐกิจและความเชื่อมั่นของผู้บริโภค เริ่มปรับตัวดีขึ้น ทำให้ผู้โฆษณาส่วนใหญ่มีส่วนแบ่งในอุตสาหกรรมลดลง ซึ่งแสดงให้เห็น ได้ชัด ถึงความหลากหลาย ความมั่นคง และโอกาสที่ดีของการเติบโตของอุตสาหกรรม โครงสร้างของกลุ่มบีอีซี เวิลด์ ในปี2552 กลุ่มบีอีซี เวิลด์ ยังคงไม่มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของกลุ่ม อย่างเป็น สาระสำคัญ นอกจากการที่ (1)ได้ขายเงินลงทุน ร้อยละ40 ใน"บีอีซี-เทโร เอ็กซ์ซิบิชั่นส์" ซึ่งเป็นบริษัทที่อยู่ในระหว่างหยุดการดำเนินงาน ที่บมจ. บีอีซี-เทโร เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ ("บีอีซี-เทโรฯ") บริษัทย่อยของ"บีอีซี เวิลด์" เคยถือหุ้นอยู่ร้อยละ99.99ของทุนจดทะเบียน ทั้งหมด ให้แก่บุคคลภายนอก แล้วเพิ่มทุนจดทะเบียนเป็น10ล้านบาทและได้รับชำระเต็มจำนวน แล้วเปลี่ยนชื่อเป็น"บริษัท แฮฟเอกู๊ดดรีม จำกัด" แต่ก็ยังคงมีสภาพเป็นบริษัทย่อยที่"บีอีซี-เทโรฯ" ยังถือหุ้นและมีสิทธิออกเสียงอยู่ร้อยละ60 และได้เริ่มดำเนินงานใหม่แล้ว โดยเป็นการจัด รายการแข่งขันแสดงความสามารถทางโทรทัศน์ (2)ได้เปลี่ยนชื่อบริษัท บีอีซี-เทโรอาร์เซนอล จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทที่อยู่ในระหว่างหยุดการดำเนินงาน ที่"บีอีซี-เทโรฯ"เคยถือหุ้นอยู่ร้อยละ 99.99ของทุนจดทะเบียนทั้งหมด เป็น บริษัท บีอีซี-เทโร คอมคอม จำกัด และได้จำหน่ายหุ้น ร้อยละ49ให้แก่บุคคลภายนอก แล้วเพิ่มทุนจดทะเบียนอีก10ล้านบาท เพิ่มเป็น28ล้านบาท ซึ่งได้รับชำระเต็มจำนวนแล้ว โดยที่ผู้ถือหุ้นต่างก็ร่วมเพิ่มทุนตามสัดส่วน จึงยังคงมีสภาพเป็น บริษัทย่อยที่"บีอีซี-เทโรฯ"ยังถือหุ้นและมีสิทธิออกเสียงอยู่ร้อยละ51 และได้เข้าดำเนินงานใน ธุรกิจใหม่ โดยเป็นการขายโฆษณาบนหน้าจอโทรศัพท์มือถือ ผลการดำเนินงาน เนื่องจากนโยบายบัญชี เกี่ยวกับการบันทึกบัญชี"เงินลงทุนในบริษัทย่อยและบริษัทร่วม" มีผล ทำให้ผลการดำเนินงานที่แสดงในงบฯเฉพาะของบริษัท แสดงผลที่ต่างไปจากผลการดำเนินงาน ของกลุ่ม ดังนั้นเพื่อป้องกันมิให้เกิดความสับสน ใคร่ขออธิบายผลการดำเนินงานตามที่แสดงใน งบการเงินรวม กลุ่ม บีอีซี เวิลด์ มี"กำไรสุทธิ"(ส่วนที่เป็นของผู้ถือหุ้นของบีอีซี เวิลด์)ในปี2552 เป็นยอด เท่ากับ2,635ล้านบาท ลดลงจากที่เคยทำได้ในปีก่อนร้อยละ8.4 ลดลง241ล้านบาท แม้บีอีซี เวิลด์ ยังสามารถเพิ่ม"รายได้จากการขายเวลาโฆษณา"ได้สูงขึ้นอีกร้อยละ2.2 เป็นยอด ที่ดีขึ้นสูงกว่าปีก่อน178ล้านบาท กำไรที่ลดลงเกิดขึ้นในครึ่งแรกของปี จากการที่ กลุ่มมี "รายได้โฆษณา"ลดลงในไตรมาสแรกของปี จากปัญหาภาวะเศรษฐกิจมหภาคโดยรวม และ จากการปรับเพิ่มขึ้นของ"ต้นทุน" จากการขยายช่วงเวลาไพร์มและการเปลี่ยนแปลงผัง รายการที่เพิ่มรายการที่ผลิตในประเทศมากขึ้น และจากการที่ "ค่าใช้จ่าย"เพิ่มขึ้นใน ช่วงครึ่งแรกของปี จากกิจกรรมการตลาดและกิจกรรมพิเศษที่เกี่ยวเนื่องกับ"การฉลอง ครบรอบ39ปีของการดำเนินการสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง3" อีกทั้ง"รายได้จากการ ให้ใช้สิทธิและบริการอื่น"และ"รายได้จากดอกเบี้ยรับ"ลดลงจากปัญหาภาวะเศรษฐกิจ แม้กลุ่ม บีอีซี เวิลด์ ปรับฟื้นตัวมีกำไรเพิ่มขึ้นสูงกว่าปีก่อนได้ต่อเนื่องตลอดครึ่งหลัง ของปี ตามรายได้ที่เพิ่มขึ้นและค่าใช้จ่ายได้ปรับลดลง แต่กำไรที่เพิ่มขึ้นในครึ่งหลังนี้ ยังไม่สามารถกลบส่วนที่ต่ำกว่าปีก่อนในครึ่งแรกของปีได้ทั้งหมด จึงทำให้ กลุ่ม บีอีซี เวิลด์ มีอัตรากำไร และ ยอดกำไรสุทธิต่ำกว่าปีก่อนดังที่กล่าว รายได้จากการขาย "รายได้จากการขายเวลาโฆษณา"ของกลุ่ม บีอีซี เวิลด์ ในปี2552 ทำได้สูงขึ้นร้อยละ2.2 เป็นยอดที่ดีขึ้นสูงกว่าปีก่อน178ล้านบาท จากการปรับราคาขึ้นได้อีกในบางช่วงเวลา การ ขยายเวลาช่วงไพร์ม และการเปลี่ยนแปลงผังรายการที่ทำให้สามารถเพิ่มรายได้ค่าเวลา โฆษณาได้ดีขึ้นอีกด้วย แต่"รายได้จากการให้ใช้สิทธิและบริการอื่น"กลับทำได้ลดลงกว่าที่ เคยทำได้ในปีก่อนจากปัญหาภาวะเศรษฐกิจ ส่วน"รายได้จากการจัดคอนเสิร์ตและแสดง โชว์"นั้น แม้จำนวนกิจกรรมได้ปรับลดลงแต่ก็มีรายได้เพิ่มขึ้นจากปีก่อนได้อีกเล็กน้อย จาก จุดแข็งและชื่อเสียงของกลุ่มในด้านนี้แม้ภาวะเศรษฐกิจไม่เอื้อ อีกทั้งเรามีกำไรขั้นต้นในปี 2552นี้ป็นยอดที่สูงกว่ายอดของปีก่อนอีกด้วย ต้นทุนขายและค่าใช้จ่าย "ต้นทุนให้บริการ" เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ12.6 ส่วนใหญ่เป็นการเพิ่มขึ้นของต้นทุนรายการ จากการปรับผังรายการเพิ่มรายการใหม่ขยายเวลาที่ใช้นำเสนอรายการในประเทศที่ผลิตใน กลุ่มเองมากขึ้น และ การปรับขยายเวลาบางรายการในช่วงเวลาไพร์ม ซึ่งต่างก็เป็นการเพิ่ม โอกาสของกลุ่มในการสร้างรายได้และกำไรให้สูงขึ้นในระยะยาวด้วย ส่วน"ต้นทุนการจัดการ แสดง"นั้นก็ลดลงตามตามจำนวนกิจกรรมที่ปรับลดลง ในส่วนของ"ค่าใช้จ่ายในการขาย"-ที่ ลดลงร้อยละ4.5 นั้นก็เป็นเพราะการปรับสัดส่วน(Products Mix)ของยอดขายส่วน "ค่าใช้จ่ายในการบริหาร"-ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ13.4 นั้นส่วนใหญ่เป็นค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นในช่วง ครึ่งแรกของปี จากกิจกรรมการตลาดและกิจกรรมพิเศษที่เกี่ยวเนื่องกับ"การฉลองครบรอบ 39ปีของการดำเนินการสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง3" อย่างไรก็ตามค่าใช้จ่ายได้ปรับลดลง มาอยู่ในระดับปกติตลอดในช่วงครึ่งหลังของปี ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความสามารถในการ ควบคุมค่าใช้จ่ายของ บีอีซี เวิลด์ ได้เป็นอย่างดี ฐานะการเงิน "สินทรัพย์"โดยรวมเพิ่มขึ้นเล็กน้อย เมื่อเปรียบเทียบกับยอด ณ สิ้นปี2551 ส่วนใหญ่เกิด จากการที่หนี้สินลดลงตามภาระภาษีที่ลดลงตามการลดลงของกำไร และการเพิ่มขึ้นของ กำไรสะสมที่ยังไม่ได้จัดสรรจากกำไรหลังการจ่ายเงินปันผล "สินทรัพย์"ที่เพิ่มขึ้นส่วนใหญ่ เป็นลูกหนี้ที่เพิ่มตามการขายที่ดีขึ้นในช่วงท้ายปี และ ค่าสิทธิ/ต้นทุนรายการที่จ่ายล่วงหน้า และได้แสดงอยู่ในสินทรัพย์หมุนเวียนอื่น "หนี้สิน"ที่ลดลงส่วนใหญ่เป็นภาระภาษีที่ลดลง ตามกำไร แม้หนี้สินหมุนเวียนอื่นที่เป็นเจ้าหนี้จากการจัดซื้ออุปกรณ์ในช่วงท้ายปีเพิ่มขึ้นก็ ตาม "ส่วนของผู้ถือหุ้น"ก็เพิ่มขึ้นจากยอดเมื่อปลายปีก่อนตามกำไรที่ยังไม่ได้จัดสรรหลัง การจ่ายเงินปันผล กลุ่มบีอีซี เวิลด์ยังคงมีฐานะการเงินที่มั่งคงเช่นเคย