EN TH
19 กุมภาพันธ์ 2552

นำส่งงบการเงินปี2551พร้อมคำอธิบายผลการดำเนินงานที่แตกต่าง

19 กุมภาพันธ์ 2552 เรื่อง ขอนำส่งงบการเงิน ปี 2551 และคำชี้แจงสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงสูงเกินกว่าร้อยละ20 เรียน กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย สิ่งที่ส่งมาด้วย งบการเงิน ปี 2551 ของบริษัท และงบการเงินรวมของบริษัท และ บริษัทย่อย พร้อมคำอธิบายงบการเงินรวม บริษัทบีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน) ขอนำส่งงบการเงินของบริษัท และ งบการเงินรวมของบริษัทและบริษัทย่อยสำหรับ ปี2551 สิ้นสุด ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551 ซึ่งผ่านการตรวจสอบจากผู้สอบบัญชี และคณะกรรมการตรวจสอบได้สอบทานแล้ว ดังที่ ได้แนบมาด้วยนี้ กลุ่ม บีอีซี เวิลด์ มีกำไรสุทธิ(ส่วนที่เป็นของผู้ถือหุ้นของบีอีซี เวิลด์)ในปี 2551 สูงขึ้นกว่าปีก่อนร้อยละ27.7 มากขึ้น623ล้านบาท เป็นยอดท่ากับ 2,875ล้านบาท จากการที่บีอีซี เวิลด์ ยังสามารถเพิ่มรายได้จากการขายเวลาโฆษณาได้สูงขึ้นร้อยละ16.7 เป็นยอดที่ดีขึ้นสูงกว่าปีก่อน1,172ล้านบาท จากการปรับราคาขึ้นในบางช่วงเวลา การ ขยายเวลาช่วงไพร์มและช่วงซุปเปอร์ไพร์ม อีกทั้งการเปลี่ยนแปลงผังรายการยังสามารถ เพิ่มอัตราการใช้เวลาโฆษณาได้ดีขึ้นอีกด้วย แม้ต้นทุนในการให้บริการและค่าใช้จ่ายใน การขายและการบริหารจะเพิ่มขึ้นจากปีก่อนด้วยเช่นกัน จากการเปลี่ยนแปลงผังรายการ การปรับขยายเวลาในบางช่วงรายการ การถ่ายทอดการแข่งขันโอลิมปิก และอัตราเงินเฟ้อ ที่สูงขึ้นในระหว่างปี แต่ต้นทุนและค่าใช้จ่ายก็เพิ่มขึ้นในอัตราที่ต่ำกว่าการเพิ่มขึ้นของ รายได้ จึงทำให้กลุ่ม บีอีซี เวิลด์ มีอัตรากำไร และ ยอดกำไรสุทธิสูงขึ้นจากปีก่อนมาก ดังที่ได้อธิบายเพิ่มเติม ในคำอธิบายงบการเงินรวมที่ได้แนบมาด้วยพร้อมนี้ จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบ ขอแสดงความนับถือ (นายฉัตรชัย เทียมทอง) ผู้อำนวยการฝ่าย ฝ่ายการเงิน คำอธิบายงบการเงินรวม สำหรับปี 2551 ภาวะอุตสาหกรรม จากการแปรเปลี่ยน"ทีไอทีวี" ไปเป็น"ไทย-พีบีเอส"ซึ่งเป็นบริการสาธารณะที่ไม่มีโฆษณา ในช่วงกลางมกราคม'51 และโดยที่"เนลสัน มีเดีย รีเสริทช์"ได้เคยรายงานว่า "ทีไอทีวี" มีส่วนแบ่งตลาดในเม็ดเงินโฆษณาผ่านสื่อโทรทัศน์สูงกว่าร้อยละ15 ในปี'50 จึงเป็นเหตุที่ ทำให้เม็ดเงินโฆษณาผ่านสื่อโทรทัศน์ในรายงานของ"เนลสันฯ" ได้ยุบตัวลงจากปีก่อน เกือบทุกเดือนในปี2551 แต่อย่างไรก็ตาม จากฐานที่ต่ำกว่าปกติในช่วงไตรมาส2ในปี 2550 ซึ่งเป็นช่วงเปลี่ยนผ่านของการเปลี่ยนแปลงจาก"ไอ-ทีวี" ไปเป็น"ทีไอทีวี" (ซึ่งทำ ให้"ทีไอทีวี"มีส่วนแบ่งตลาดในไตรมาสนั้นต่ำกว่าอัตราเฉลี่ยของปี) อุตสาหกรรมจึงยังมี การเติบโตจากปีก่อนในช่วงไตรมาสนั้นและเป็นไตรมาสที่ดีที่สุดของปี'51 แต่ในรายงาน ของ"เนลสันฯ"ก็แสดงว่าอุตสาหกรรมยุบตัวลงจากปีก่อนเพียงร้อยละ4.4 จึงมีผลทำให้ทุก ช่อง ยกเว้น"ที-ไอทีวี/ที-พีบีเอส" มีการเติบโตสูงกว่าปีก่อนทั้งสิ้น โดยที่ "ช่อง11" ซึ่ง ปัจจุบันใช้ชื่อว่า"เอ็นบีที"มีอัตราการเติบโตดีขึ้นสูงกว่าใครอื่น ซึ่งเป็นผลจากฐานที่ต่ำ- จากข้อจำกัดในการรับโฆษณาที่มีมาแต่เดิม และ จากการที่"ช่อง11"ได้ถ่ายทอดการ แข่งขันโอลิมปิกยาวนานกว่าเครือข่ายอื่นๆ แต่เมื่อพิจารณารายงานของ"เนลสันฯ"ใน รายละเอียด ก็เห็นได้ชัดว่า ผู้โฆษณาไม่ได้ยุบตัวไปในทางเดียวกัน นอกจากผู้ที่เคยเป็น ผู้โฆษณารายใหญ่ของ"ที-ไอทีวี"ซึ่งกลับมาเป็นผู้โฆษณาที่ใช้เงินลดลงในปี'51 ยังมี ผู้โฆษณาหลายกลุ่มสินค้า/หลายราย ทั้งรายใหญ่ๆและรายกลางๆ ที่ยังเพิ่มการใช้เงิน โฆษณาผ่านสื่อโทรทัศน์สูงขึ้นกว่าปีก่อน และ มีหลายรายที่ใช้เงินโฆษณาเพิ่มขึ้นมากกว่า ร้อยละ20ของปีก่อน อีกทั้งยังมีผู้โฆษณารายใหม่เพิ่มเข้ามาอีกมากราย ทำให้ผู้โฆษณา ส่วนใหญ่มีส่วนแบ่งในอุตสาหกรรมลดลง แสดงให้เห็นได้ชัด ถึงความหลากหลาย, ความ มั่นคง และ โอกาสที่ดีของการเติบโตของอุตสาหกรรม อันเป็นเหตุให้ทั้ง "ช่อง3" และ เครือข่ายอื่น สามารถปรับอัตราราคาเวลาโฆษณาเพิ่มขึ้นในบางช่วงเวลามาตั้งแต่ ช่วงต้นปี2551 และอีกรอบในช่วงกลางไตรมาส2 ก่อนที่ข่าวร้ายทั้งจากภายนอกและ ภายในประเทศจะมีผลลบต่อเศรษฐกิจมหภาค จนทำให้อุตสาหกรรมได้ยุบตัวจาก เดือนก่อนต่อเนื่องกันใน2เดือนสุดท้ายของปี แต่ก็ยังเป็นอัตราการยุบตัวลงในอัตราที่ต่ำ โครงสร้างของกลุ่มบีอีซี เวิลด์ ในปี2551 กลุ่มบีอีซี เวิลด์ ยังคงไม่มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของกลุ่ม อย่างเป็น สาระสำคัญ นอกจากการที่ได้ขายเงินลงทุนใน"ธีมสตาร์" บริษัทร่วมที่ได้ขาดทุนมาโดย ตลอด ออกไปทั้งหมดในไตรมาสแรกของปี และการเปลี่ยนประเภทของเงินลงทุนใน "ซีวีดี" จากเดิมที่เป็น"บริษัทร่วม" เป็น "เงินลงทุนในหลักทรัพย์เผื่อขาย"ใน ไตรมาสสามของปีเมื่อ"ซีวีดี"ได้เพิ่มทุนให้แก่ผู้ถือหุ้นใหม่ลดสัดส่วนการถือครองของ ผู้ถือหุ้นเดิมลง และการจดทะเบียนเลิกบริษัท โมบิ (ไทย) จำกัด และ บริษัท ดิจิตอล แฟคทอรี่ จำกัด ที่ได้หยุดดำเนินการมาหลายปีแล้ว โดยได้จดทะเบียนเลิก บริษัทดังกล่าวในช่วงท้ายปี ผลการดำเนินงาน เนื่องจากนโยบายบัญชี เกี่ยวกับการบันทึกบัญชี"เงินลงทุนในบริษัทย่อยและบริษัทร่วม" มีผลทำให้ผลการดำเนินงานที่แสดงในงบฯเฉพาะของบริษัท แสดงผลที่ต่างไปจากผล การดำเนินงานของกลุ่ม ดังนั้นเพื่อป้องกันมิให้เกิดความสับสน ใคร่ขออธิบายผลการ ดำเนินงาน ตามที่แสดงในงบการเงินรวม กลุ่ม บีอีซี เวิลด์ มีกำไรสุทธิ(ส่วนที่เป็นของผู้ถือหุ้นของบีอีซี เวิลด์)ในปี2551 สูงขึ้นกว่า ปีก่อนร้อยละ27.7 มากขึ้น623ล้านบาท เป็นยอดเท่ากับ 2,875ล้านบาท จากการที่บีอีซี เวิลด์ ยังสามารถเพิ่มรายได้จากการขายเวลาโฆษณาได้สูงขึ้นร้อยละ16.7 เป็นยอดที่ดีขึ้น สูงกว่าปีก่อน1,172ล้านบาท จากการปรับราคาขึ้นในบางช่วงเวลา การขยายเวลาช่วง ไพร์มและช่วงซุปเปอร์ไพร์ม อีกทั้งการเปลี่ยนแปลงผังรายการยังสามารถเพิ่มอัตราการใช้ เวลาโฆษณาได้ดีขึ้นอีกด้วย แม้ต้นทุนในการให้บริการและค่าใช้จ่ายในการขายและการ บริหารจะเพิ่มขึ้นจากปีก่อนด้วยเช่นกัน จากการเปลี่ยนแปลงผังรายการ การปรับขยายเวลา ในบางช่วงรายการ การถ่ายทอดการแข่งขันโอลิมปิก และ อัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้นในระหว่าง ปี แต่ต้นทุนและค่าใช้จ่ายก็เพิ่มขึ้นในอัตราที่ต่ำกว่าการเพิ่มขึ้นของรายได้ จึงทำให้กลุ่ม บี อีซี เวิลด์ มีอัตรากำไร และ ยอดกำไรสุทธิ สูงขึ้นจากปีก่อนมาก รายได้จากการขาย รายได้จากการขายเวลาโฆษณาของกลุ่ม บีอีซี เวิลด์ ในปี2551 ทำได้สูงขึ้นร้อยละ16.7 เป็นยอดที่ดีขึ้นสูงกว่าปีก่อน1,172ล้านบาท จากการปรับราคาขึ้นได้อีกในบางช่วงเวลา การขยายช่วงไพร์มไทม์ และ การขยายเวลาช่วงซุปเปอร์ไพร์ม-ที่ขยายเพื่อรองรับความ ต้องการเวลาโฆษณาที่เพิ่มขึ้นสูงกว่าที่คาดการณ์ไว้ อีกทั้งการเปลี่ยนแปลงผังรายการยัง สามารถเพิ่มอัตราการใช้เวลาโฆษณาได้ดีขึ้นอีกด้วย ส่วนรายได้จากการจัดคอนเสิร์ตและ แสดงโชว์นั้นลดลงจากปีก่อนตามจำนวนกิจกรรมที่ปรับลดลง และตามการสนับสนุนที่ ได้รับน้อยลงโดยเฉพาะการจัดการแข่งขันเทนนิสอาชีพระดับโลก ที่จัดขึ้นเป็นประจำใน ไตรมาส3ของปี แต่ในปี2551นี้เรามีรายได้จากการจัดการแข่งขันที่ว่านั้นได้น้อยลงจากที่ เคยทำได้ในปีก่อน จึงทำให้ผลขาดทุนจากการจัดการแข่งขันนี้เป็นยอดที่สูงกว่ายอดของ ปีก่อน ต้นทุนขายและค่าใช้จ่าย ต้นทุนให้บริการเพิ่มขึ้นจากปีก่อนเพียงร้อยละ4.2 แม้จะมีการถ่ายทอดการแข่งขัน โอลิมปิก การปรับผังรายการเพิ่มรายการใหม่ การขยายเวลาช่วงซุปเปอร์ไพร์ม-ที่ได้ ขยายเพื่อรับความต้องการเวลาโฆษณาที่เพิ่มขึ้นสูงกว่าที่คาดการณ์ไว้ และการปรับขยาย รายการบางช่วงในเวลาพร์มไทม์-ซึ่งก็เป็นการเพิ่มโอกาศในการสร้างรายได้และกำไร ให้สูงขึ้นด้วย ส่วนต้นทุนการจัดการแสดงนั้นก็ลดลงตามตามจำนวนกิจกรรมที่ปรับลดลง ในส่วนของค่าใช้จ่ายในการขาย-ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ13.4 ก็เป็นการโตขึ้นตามยอดขาย ส่วน ค่าใช้จ่ายในการบริหาร-ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ2.2 นั้นได้รับรู้ความเสี่ยงของหนี้ที่เกิดจากการ จัดการแข่งขันเทนนิสในปีก่อนๆที่ยังคงค้างอยู่นานในรูป"ค่าเผื่อสำหรับหนี้ที่สงสัยจะสูญ" ที่ทำให้ค่าใช้จ่ายสูงขึ้นเป็นพิเศษในไตรมาส3 ปีนี้ด้วยแล้ว โดยรวมต้นทุนและค่าใช้จ่าย ในการดำเนินงานเพิ่มขึ้นจากปีก่อนพียงร้อยละ2.4 ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความสามารถใน การควบคุมต้นทุนและค่าใช้จ่ายของ บีอีซี เวิลด์ ได้เป็นอย่างดี แม้อัตราเงินเฟ้อจะสูงขึ้น มากในระหว่างปี ฐานะการเงิน สินทรัพย์โดยรวมเพิ่มขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับยอด ณ สิ้นปี2550 โดยที่เงินสด,รายการ เทียบเท่าเงินสดและเงินลงทุนชั่วคราวเพิ่มขึ้นตามการเพิ่มขึ้นของผลกำไร เงินลงทุนใน บริษัทร่วมนั้นได้ถูกจัดประเภทใหม่เป็นเงินลงทุนระยะยาวในหลักทรัพย์เผื่อขาย,เมื่อ อำนาจควบคุมของเราลดลง, แสดงมูลค่าตามราคาตลาด โดยที่กำไรจากการแปลงมูลค่า เงินลงทุนดังที่กล่าวและการเปลี่ยนแปลงของราคาตลาดได้แสดงไว้ในส่วนของผู้ถือหุ้น โดยตรง ไม่ผ่านงบกำไรขาดทุน หนี้สินลดลงจากยอดเมื่อปลายปีก่อนเล็กน้อยแม้ภาระ ภาษีเพิ่มขึ้น ส่วนของผู้ถือหุ้นก็เพิ่มขึ้นจากยอดเมื่อปลายปีก่อนตามกำไรที่เพิ่มขึ้นเช่นกัน กลุ่มบีอีซี เวิลด์ยังมีฐานะมั่งคงเช่นเคย